พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 20 – 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 87/63
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 20 – 23 ก.ค. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ในขณะที่มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 24 – 26 ก.ค. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ประกอบกับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกจะเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง
คำเตือน ในช่วงวันที่ 20 – 22 และในช่วงวันที่ 25 – 26 ก.ค. 63 บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ จะมีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉลับพลัน น้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
คำแนะนำสำหรับการเกษตร
ภาคเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 21-22 ก.ค. 63อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น เช่น โรคราน้ำค้างในข้าวโพด โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคเน่าเละในผัก เป็นต้น โดยดูแลดินให้มีการระบายน้ำได้ดี ไม่ให้น้ำขังในแปลงปลูก ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้รั่วซึม แผงกำบังฝนสาดอยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ พื้นคอกไม่ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันสัตว์เปียกชื้นหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ในช่วงวันที่ 20 – 22 และ 25 – 26 ก.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23 – 24 ก.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตก เกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ เช่น โคและกระบือ เป็นต้น
ภาคกลาง
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ในช่วงวันที่ 20 – 22 และ 25 – 26 ก.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23 – 24 ก.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกและจัดเตรียมวัสดุสำหรับกั้นพื้นที่การเกษตร รวมทั้งอุปกรณ์สูบน้ำเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน เพื่อไม่ให้น้ำขังในพื้นที่การเกษตรและโคนต้นพืช ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเสริมขอบบ่อให้สูงขึ้นรวมทั้งจัดเตรียมวัสดุสำหรับกั้นขอบบ่อ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรจัดเตรียมพื้นที่สูงน้ำท่วมไม่ถึงเอาไว้สำหรับอพยพสัตว์เลี้ยงหากเกิดสภาวะน้ำท่วม
ภาคตะวันออก
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ในช่วงวันที่ 20 – 22 และ 25 – 26 ก.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 23 – 24 ก.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
สำหรับสวนผลไม้ที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในสวนเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อให้น้ำรวมเป็นเนื้อเดียวกัน ป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ รวมทั้งจัดเตรียมวัสดุสำหรับกั้นขอบบ่อรวมทั้งอุปกรณ์สูบน้ำเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน
ภาคใต้
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 20 – 24 ก.ค. 63 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25 – 26 ก.ค. 63 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 20 – 24 ก.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 21-22 ก.ค. 63 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25 – 26 ก.ค. 63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
ระยะนี้เป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมดังกล่าวจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าฝั่งตะวันออก กับจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชสวนและพืชผัก เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยางในยางพารา โรคราสนิมในกาแฟ โรคยอดเน่าในปาล์มน้ำมัน เป็นต้น สำหรับทางฝั่งตะวันออก ฝนที่ตกในระยะนี้จะเป็นผลดีแก่พืชไร่ ไม้ผล ที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต และเจริญเติบโตทางผล ซึ่งจะทำให้การเจริญเติบโตได้ดี แต่ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 13 – 19 กรกฎาคม 2563 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยตลอดสัปดาห์ ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ประเทศไทยและอ่าวไทย ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออก และมีรายงานฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดสัปดาห์
ภาคเหนือ มีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 10-60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ในวันที่ 17 ก.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 17 และ 18 ก.ค. มีฝนร้อยละ 15-30 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์กับมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 14 ก.ค. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดหนองบัวลำภูในวันที่ 13 ก.ค. ภาคกลาง มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 5-30 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งตลอดสัปดาห์ และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดชัยนาทในวันที่ 13 ก.ค. ภาคตะวันออก มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนร้อยละ 20-50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่ง 2 ตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 20-50 ของพื้นที่โดยมีฝนหนักบางแห่งตลอดสัปดาห์และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์และมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันบริเวณจังหวัด นครศรีธรรมราชในวันที่ 16 ก.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 14 และ 15 มีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่