
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดตัว “ไม้เท้าอัจฉริยะ” ไม้เท้าโฉมใหม่ เพื่อป้องกันอันตรายสำหรับผู้พิการทางสายตา ที่มาพร้อมเซนเซอร์บอกจุดอันตราย 3 ระดับ พร้อมส่งสัญญาณเตือนในรูปแบบของ “เสียง-สั่น” แบบเรียลไทม์ คือ แนวดิ่งระยะ 50 เซนติเมตร จะส่งเสียงเตือน หากพบสิ่งกีดขวางในระยะ 120 เซนติเมตร แนวดิ่งระยะ 100 เซนติเมตร จะส่งเสียงเตือน หากพบสิ่งกีดขวางในระยะ 100 เซนติเมตร และแนวราบบริเวณที่มีแหล่งน้ำ จะสั่นเตือนที่ด้ามจับของไม้เท้า กรณีพบแหล่งน้ำบริเวณทางเดิน ทั้งนี้ นวัตกรรมดังกล่าว เป็นผลงานของเยาวชนจากโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมดังกล่าว อยู่ระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพในผู้พิการทางสายตา (Clinical Test) และยื่นจดอนุสิทธิบัตร
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สาขาวิชาฟิสิกส์ โทร. 02-5644-4440 ถึง 59 ต่อ 2500 หรือติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. โทร. 02-564-4491ต่อ 2020 เฟสบุ๊คแฟนเพจ www.facebook.com/ScienceThammasat
รศ.ดร.สมชาย
ชคตระการ คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. กล่าวว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพด้านอิเล็กทรอนิกส์และสมองกลฝังตัวแก่เยาวชนผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่ห่างไกล
จึงได้ร่วมเป็น 1 ในเครือข่ายมหาวิทยาลัย
โครงการพัฒนาทักษะด้านอิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
สำหรับโรงเรียนในชนบท โรงเรียนพระปริยัติธรรม และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
ภายใต้การดูแลของ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดำเนิน ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ระบบสมองกลฝังตัว
การต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์ การสร้างชิ้นงาน 3 มิติ และ Internet
of Things
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา คณะฯ
ได้ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาแก่สามเณรและนักเรียน ครอบคลุม 5 ภูมิภาค ใน 42 โรงเรียน
โดยสามารถพัฒนาผลงานต้นแบบที่ตอบโจทย์สังคมได้จริงและมีประสิทธิภาพจำนวนมาก อาทิ
“เครื่องเตือนภัยน้ำท่วมอัจฉริยะ” ระบบตรวจวัดระดับน้ำในนาข้าว
พร้อมแจ้งเตือนผ่านเอสเอ็มเอส เพื่อหาแนวทางรับมือกรณีเกิดน้ำท่วมขังในหน้าน้ำหลาก
“ล็อคเกอร์อัจฉริยะ” ที่สามารถควบคุมและสั่งการเปิด-ปิดได้ในระยะไกลด้วยสมาร์ทโฟน
และ “ไม้เท้าอัจฉริยะ” ไม้เท้าสำหรับผู้พิการทางสายตา
ที่มาพร้อมเซนเซอร์บอกจุดอันตราย และแจ้งเตือนด้วยระบบสั่น-เสียง เป็นต้น
ทั้งนี้
นวัตกรรมไม้เท้าอัจฉริยะ สำหรับผู้พิการทางสายตา
ใช้เวลาในการศึกษาและพัฒนาเป็นเวลา 6 เดือน
โดยมีต้นทุนในการพัฒนาตัวต้นแบบประมาณ 1,800 บาท ซึ่งเป็นผลงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
3 และมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี
จังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย นายศักดา ดีแสง และนางสาวอภิญญา ตาลสาร อย่างไรก็ตาม
นวัตกรรมดังกล่าว อยู่ระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพในผู้พิการทางสายตา (Clinical
Test) และยื่นจดอนุสิทธิบัตร โดยภายในปี 2561 นี้
ทีมวิจัยได้เตรียมพัฒนาระบบประมวลผลให้มีเสถียรภาพ
และปรับรูปลักษณ์ของไม้เท้าให้มีความสวยงามยิ่งขึ้น ดร.เรวัตร กล่าวทิ้งท้าย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สาขาวิชาฟิสิกส์ โทร. 02-5644-4440 ถึง 59 ต่อ 2500 หรือติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. โทร. 02-564-4491ต่อ 2020 เฟสบุ๊คแฟนเพจ
www.facebook.com/ScienceThammasat